วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ตลาดดอนหวาย



    ตลาดดอนหวายตั้งอยู่ที่ ต. บางระทึก อ. สามพราน จ.นครปฐม ริมแม่น้ำท่าจีน ความยาวของตลาดประมาณ 300 เมตร อยู่ติดกับวัดคงคารามดอนหวาย 

ตลาดน้ำดอนหวาย เป็นตลาดที่ยังเหลือสภาพตลาดเก่าในอดีตสมัยรัชกาลที่ 6 ให้เห็น ลักษณะตัวอาคารเป็นอาคารไม้เก่าๆ ที่อยู่ติดริมแม่น้ำท่าจีน มีพ่อค้า แม่ค้า พายเรือนำสินค้า และอาหารมาจำหน่ายในบริเวณวัดดอนหวาย ที่นี่มีตลาดนัดสินค้าทางการเกษตรที่วัดดอนหวายทุกวัน และมีเรือบริการนำเที่ยวชมทิวทัศน์ของสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน โดยเฉพาะในตอนเย็นหลังเวลา 15.00 . ไปแล้ว ขากลับระหว่างทางจะเห็นนก และมีปลาว่ายตามเรือ บรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ สินค้าที่ขายก็มีหลากหลาย ทั้งอาหารคาว ขนม ผลไม้ ผักสด ต้นไม้ เครื่องจักสาน และอื่นๆ อีกมากมาย
          ตลาดดอนหวายก็เต็มไปด้วย ผู้คนนับร้อยที่ต้องการมาพิสูจน์ความเอร็ดอร่อยของอาหารชนิดต่าง ๆ และชื่นชมบรรยากาศเก่าๆที่นับวันจะหายากขึ้นทุกที พ่อค้าแม่ขายที่เคยย้ายไปค้าขายอยู่ที่อื่น เมื่อรู้ข่าวว่าตลาดดอนหวายกลับมาคึกคักอีกครั้ง ต่างก็พร้อมใจกันกลับมาค้าขาย ณ ตลาดเดิม พ่อค้าแม่ค้าจากที่ไกล ๆ เช่น อยุธยา ปทุมธานี ระยอง ฯลฯ ก็นำสินค้ามาจำหน่ายด้วย จำนวนร้านค้าจึงเพิ่มมากขึ้น สินค้าก็หลากหลายไปกว่าแต่ก่อน ประกอบกับรายการโทรทัศน์ และสื่อชนิดต่าง ๆ ทยอยกันทำข่าวเกี่ยวกับอาหารบ้าง เกี่ยวกับตลาดบ้างไม่เว้นแต่ละวัน อีกทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ช่วยประชาสัมพันธ์อีกแรงหนึ่ง ตลาดดอนหวายจึงมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างรวดเร็ว


   ถ้ามาตลาดน้ำดอนหวาย ไม่มาซื้อเป็ดพะโล้ซึ่งร้านใหญๆ 3 ร้านนั้นก็พี่น้องกันนั่นแหล่ะหรือไม่ก็ต้องมาซื้อขนมไทยซึ่งมีหลากหลาย หรือไม่ก็ห่อหมกปลาช่อน เพราะทั้งสามอย่างนี้เป็นอาหารขึ้นชื่อ ขนาดว่าถ้าใครมาตลาดดอนหวายแล้วไม่ได้ซื้ออย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้กลับไป ก็แสดงว่ามาไม่ถึงตลาดดอนหวาย ในตลาดยังมีของอร่อย ๆ อีกมายมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อ ทั้งน้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าวอ่อนที่หอมหวาน ชื่นใจ บรรจุในตุ่มดินเผาใบเล็ก ๆ ทำให้เมื่อดื่มแล้วรู้สึกเย็นชื่นใจยาวนาน ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าหลังการเดินซื้อของได้ดีทีเดียว นอกจากนี้ก็ยังมีผักและผลไม้นานาชนิดจำหน่ายในราคาย่อมเยา โดยเฉพาะส้มโอ ผลไม้ขึ้นชื่อของนครชัยศรีที่เจ้าของสวนขนมาขายเอง จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพ และสามารถต่อรองราคากันได้
               เดินลึกเข้าไปภายในตลาดน้ำ ผู้คนเริ่มคึกคัก เดินเบียดเสียดกัน เพราะแถบนี้ขายขนม เช่น สาลี่ โมจิ ปุยฝ้าย ขนมตาลป้าไข่ ตะโก้ ขนมเบื้อง ลูกชุบ ทองม้วน ข้าวเหนียวแก้ว ขนมเปี๊ยะ บะจ่าง ช่อม่วง หรุ่มล่าเตียง ปั้นขลิบ และอื่นๆ ล้วนหน้าตาน่ารับประทานทั้งสิ้น ใกล้กันเป็นร้านอาหารคาว ที่ขึ้นชื่อเลยคือร้านเป็ดพะโล้นายหนับ ต้มเค็มปลาทู ห่อหมกปลาช่อน ทอดมันปลากราย และขนมจีนน้ำยากะทิ
ลองชิมเป็ดพะโล้นายหนับ ถึงรู้ว่าแรกยังไม่ทานกลิ่นหอมเย้ายวน พอได้ทานรสชาติกลมกล่อมอร่อยที่สุด เพราะเป็ดพะโล้นายหนับ เปิดเป็นเจ้าแรกที่ตลาดน้ำดอนหวายแห่งนี้ นานถึง 30 กว่าปี ไม่ทันอิ่มท้อง มาต่อด้วยขนมจีนน้ำยาร้านข้างๆ ซึ่งไม่ธรรมดา ทั้งเส้นขนมจีนและผักสดที่นำมากินแกล้ม  ขนมจีนสะอาดหมดจด รสชาติไม่ต้องพูดถึง


               บรรยายสรรพคุณตลาดน้ำดอนหวายกันขนาดนี้ ไม่อยากมาก็ให้รู้ไป ตลาดน้ำดอนหวายที่เต็มไปด้วยอาหารไทย คาวหวาน ,, หลากหลาย อร่อย,, ใกล้ๆ กรุงเทพมหานคร หาเวลามาเดินเล่นกันนะคะ   ตลาดน้ำดอนหวายเปิดทุกวัน 7.00 - 18.00 .  นักท่องที่ยวและจะมีของขายเยอะในช่วงวันเสาร์ - อาทิตย์ - วันหยุดนักขัตฤกษ์ 
   ตลาดมีลักษณะตัวอาคารเป็นอาคารไม้เก่า ตั้งแต่อดีตสมัยรัชกาลที่ 6 ที่อยู่ติดริมแม่น้ำท่าจีน มีพ่อค้า แม่ค้า นำสินค้า และอาหารมาจำหน่ายในบริเวณวัดดอนหวาย มีตลาดนัดสินค้าทางการเกษตรที่วัดดอนหวายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 . และมีเรือบริการนำเที่ยวชมทิวทัศน์ของสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน
ตลาดเริ่มบูมตั้งแต่ปี 42-43 สมัย IMF ข้าวของแพง คนไทยประหยัด จึงค้นหาสินค้าราคาประหยัด
   เดิมทีเป็นเพียงตลาดภายในชุมชนที่ไม่ได้ใหญ่โตหรือมีชื่อเสียงโด่งดังอะไร ในยุคที่การสัญจรและการค้าขายทางน้ำยังคับคั่ง ชาวบ้านจะพายเรือแจวมาซื้อหาข้าวปลาอาหาร ที่ตลาดดอนหวายกันทุกวัน จนมาชั่วเวลาหนึ่ง สีสันการค้าขายของชุมชนแห่งนี้ก็จืดจางลงไป เนื่องจากมีการสร้างถนนวัดไร่ขิง ตัดผ่านหน้าชุมชนเมื่อประมาณ 30ปีที่แล้ว เป็นเหตุให้ชาวบ้านหันไปซื้อหาของจากนอกชุมชนแทน เพราะการเดินทางสะดวกขึ้น พ่อค้าแม่ขายในตลาดดอนหวาย จึงต้องโยกย้ายแหล่งทำมาหากินไปอยู่ที่อื่น ตลาดดอนหวายเกือบจะกลายเป็นตลาดร้าง มีร้านค้าอยู่ไม่ถึง 10 ร้านที่ยังคงยืนหยัดค้าขายอยู่

   จนมาวันหนึ่ง ประมาณปีครึ่งที่ผ่านมา เมื่อทีมงาน "เที่ยวไป กินไป" จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นำทีมโดย พลเอก โอภาส โพธิแพทย์ ได้เดินทางไปรับประทานเป็ดพะโล้ที่ร้านนายหนับ และตีพิมพ์เรื่องราวเป็ดพะโล้รสอร่อยของร้านนายหนับ และบรรยากาศตลาดดอนหวายสู่สาธารณชน ตั้งแต่วันนั้นก็เสมือนว่า ตลาดดอนหวายได้เกิดใหม่เป็นครั้งที่ 2 เพราะเช้าวันรุ่งขึ้น ตลาดดอนหวายก็เต็มไปด้วยผู้คนนับร้อยที่ต้องการมาพิสูจน์ความเอร็ดอร่อยของอาหารชนิดต่าง ๆ และชื่นชมบรรยากาศเก่า ๆ ที่นับวันจะหายากขึ้นทุกที พ่อค้าแม่ขายที่เคยย้ายไปค้าขายอยู่ที่อื่น เมื่อรู้ข่าวว่าตลาดดอนหวายกลับมาคึกคักอีกครั้ง ต่างก็พร้อมใจกันกลับมาค้าขาย ณ ตลาดเดิม พ่อค้าแม่ค้าจากที่ไกล ๆ เช่น อยุธยา ปทุมธานี ระยอง ฯลฯ ก็นำสินค้ามาจำหน่ายด้วย จำนวนร้านค้าจึงเพิ่มมากขึ้น สินค้าก็หลากหลายไปกว่าแต่ก่อน ประกอบกับรายการโทรทัศน์ และสื่อชนิดต่าง ๆ ทยอยกันทำข่าวเกี่ยวกับอาหารบ้าง เกี่ยวกับตลาดบ้างไม่เว้นแต่ละวัน อีกทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็ช่วยประชาสัมพันธ์อีกแรงหนึ่ง ตลาดดอนหวายจึงมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างรวดเร็ว 

  
   ทุกวันนี้นอกจากนักท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงแล้ว นักท่องเที่ยวจากจังหวัดที่อยู่ไกลออกไป เช่น สุพรรณบุรี ระยอง ฯลฯ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ก็จะหาโอกาสแวะมาซื้อหาของกินอร่อยๆที่นี่โดยเฉพาะถ้าใครชอบทานผักสดหล่ะก็ที่นี่จะถูกมากแถมยังสดอีกต่างหาก แต่ที่มากสุด ก็เห็นจะเป็นนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯนั่นเอง เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะระยะทางไม่ไกลมากนัก และถนนหนทางก็สะดวก มีแผ่นป้ายบอกทางเข้าตลาดดอนหวายอย่างเด่นชัด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน คือถ้าไม่มาซื้อเป็ดพะโล้ ก็ต้องมาซื้อขนมไทยซึ่งมีหลากหลาย หรือไม่ก็ห่อหมกปลาช่อน เพราะทั้งสามอย่างนี้เป็นอาหารขึ้นชื่อ ขนาดว่าถ้าใครมาตลาดดอนหวายแล้วไม่ได้ซื้ออย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้กลับไป ก็แสดงว่ามาไม่ถึงตลาดดอนหวาย ในตลาดยังมีของอร่อย ๆ อีกมายมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อ ทั้งน้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าวอ่อนที่หอมหวานน่าดื่ม บรรจุในตุ่มดินเผาใบเล็ก ๆ ทำให้เมื่อดื่มแล้วรู้สึกเย็นชื่นใจยาวนาน ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าหลังการเดินซื้อของได้ดีทีเดียว นอกจากนี้ก็ยังมีผักและผลไม้นานาชนิดจำหน่ายในราคาย่อมเยา โดยเฉพาะส้มโอ ผลไม้ขึ้นชื่อของนครชัยศรีที่เจ้าของสวนขนมาขายเอง จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพ และสามารถต่อรองราคากันได้


   ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศการรับประทานอาหาร ที่นี่เขาก็มีบริการล่องเรือชมบรรยากาศสองฟากแม่น้ำท่าจีนไปพร้อม ๆ กับการรับประทานอาหาร เป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งโดยประมาณ หรือถ้าไม่ต้องการรับประทานอาหาร เพราะอิ่มอร่อยไปเรียบร้อยแล้ว จะนั่งเรือชมบรรยากาศอย่างเดียวก็ได้ สนนราคาค่าโดยสารแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม และจะมีเรือออกเป็นรอบ ๆ ไป
สำหรับบรรยากาศทั่ว ๆ ไปของตลาดดอนหวายนั้น ในวันธรรมดาจะเงียบเหงา แต่พอถึงวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ผู้คนจะแน่นขนัดชนิดเดินหลีกกันไม่พ้นทีเดียว
แม้ตลาดแห่งนี้จะไม่ใช่ตลาดที่ก่อตั้งและพัฒนาตัวเองมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 100 กว่าปีที่ผ่านมา แต่การที่ตลาดแห่งนี้หวนกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ก็เพราะความร่วมมือของคนในชุมชน ที่พยายามจะดำรงรักษาให้ตลาดแห่งนี้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป แต่ท่ามกลางกระแสการท่องเที่ยวที่เชี่ยวกรากเช่นนี้ 
ชาวชุมชนจะรักษาตลาดโบราณริมแม่น้ำท่าจีนแห่งนี้ไว้ได้นานสักแค่ไหน เป็นสิ่งที่คนในชุมชนต้องใคร่ครวญ และเตรียมรับมือด้วยเช่นกัน 



การเดินทาง : สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง
              
รถยนต์ส่วนตัว เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ถนนหมายเลข 338) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 26 จะถึงปั้มน้ำมัน JET ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือของท่าน จากนั้นขับเลยปั้มน้ำมันไปประมาณ 600 เมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย 3316 แล้วขับตรงไปประมาณ 5.5 กิโลเมตร ท่านก็จะถึง ตลาดดอนหวาย ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของท่าน
               รถยนต์ส่วนตัว เส้นทางที่ จากกรุงเทพฯ วิ่งมาตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางแค อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน สวนสามพราน พอเลยสวนสามพรานมาให้สังเกตทางด้านขวามือจะเห็นป้ายบอกว่าวัดไร่ขิง (ตรงป้ายนี้เป็นแค่ทางเข้าวัดไร่ขิง ไม่ใช่ตัววัด ต้องวิ่งเข้าไปข้างในจึงจะเป็นวัด ระยะทางก็ประมาณ 2 กิโลเมตร) เมื่อเห็นป้ายแล้วให้วิ่งรถเลยไปแล้วไปกลับรถ (U- Turn) ใต้สะพาน หลังจากกลับรถใต้สะพานแล้ว ให้วิ่งย้อนกลับมาแล้วเลี้ยวซ้ายตรงป้ายที่บอกว่าวัดไร่ขิงนะครับ จากนั้นขับตรงไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึง วัดไร่ขิง ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือของท่าน ซึ่งบริเวณริมน้ำหน้าวัดไร่ขิงจะมีเรือบริการไป-กลับ ตลาดน้ำดอนหวายด้วย ถ้าใครสนใจก็นั่งไปได้ (ค่าบริการท่านละ 50 บาท) จากวัดไร่ขิงขับตรงไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึง ตลาดดอนหวาย ซึ่งตลาดดอนหวายจะอยู่ทางด้านซ้ายมือของท่าน



               รถประจำทาง นั่งรถจากสายใต้ใหม่ สายกรุงเทพ-นครปฐม, กรุงเทพ-ราชบุรี, กรุงเทพ-กาญจนบุรี, กรุงเทพ-สุพรรณบุรี (ควรเช็คว่ารถผ่านทางเข้าวัดไร่ขิงหรือไม่) แล้วลงตรงทางเข้าวัดไร่ขิง (ทางเข้าวัดไร่ขิงจะอยู่ทางด้านขวามือ ซึ่งอยู่เลยสวนสามพรานมานิดนึง) หลังจากลงรถแล้วให้เดินข้ามฝั่ง แล้วไปขึ้นรถสองแถว (ค่าบริการท่านละ 4 บาท) ไปลงที่วัดไร่ขิง ซึ่งบริเวณริมน้ำหน้าวัดไร่ขิงจะมีเรือบริการไป-กลับ ตลาดน้ำดอนหวายด้วย ถ้าใครสนใจก็นั่งไปได้ (ค่าบริการท่านละ 50 บาท) ถ้าไม่สนใจให้ท่านมาขึ้นรถที่ท่ารถสองแถว (ค่าบริการท่านละ 3 บาท) เพื่อไปยังตลาดดอนหวาย ซึ่งจะผ่านวัดท่าพูด (ระยะทางจากวัดไร่ขิงถึงตลาดดอนหวายประมาณ 5 กิโลเมตร) ก็จะถึงตลาดดอนหวาย ซึ่งตลาดดอนหวายจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ
               รถตู้ มีรถตู้จากบริเวณร้านอาหารเฮือนไท (ใกล้กับห้างพาต้าปิ่นเกล้า) โดยจะให้บริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.tourinthai.com
www.hamanan.com

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

เสน่ห์เมือง “แม่กลอง” มาแล้วต้องติดใจ

เสน่ห์เมือง “แม่กลอง” มาแล้วต้องติดใจ 


                           วิถีชีวิตอันสงบงามของคนสมุทรสงคราม 


 “สมุทรสงคราม” เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ทั้งจังหวัดมีเพียง 3 อำเภอ เท่านั้น คืออำเภอเมือง อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่หากพูดถึงแหล่งท่องเที่ยวแล้วนับว่ามีมากมายผกผันกับขนาด อีกทั้งยังอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แค่นิดเดียว เดินทางไปได้สะดวก แถมเที่ยวได้ทุกฤดูไม่ว่าฝนตกหรือแดดออก สมุทรสงครามในวันนี้จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในวันสุดสัปดาห์ที่หลายๆ ติดใจในเสน่ห์และวิถีชีวิตของคนเมืองนี้


                        เรือนทรงไทยในอุทยาน ร.2 
       
       “เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม” คือคำขวัญของจังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่มักถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองแม่กลอง” เพราะมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านเป็นดังเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด อีกทั้งยังมีคลองสาขาแยกย่อยอีกกว่า 300 สาย และมีลำกระโดง (คลองซอย) แตกแขนงไปอีกเกือบ 2,000 สาย กระจายทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัด ทำให้สมุทรสงครามเป็นเมืองเกษตรกรรม เต็มไปด้วยเรือกสวนไร่นา โดยในอดีตบริเวณนี้เรียกว่าเป็น “สวนนอก” (ส่วน “สวนใน” คือบางกอกหรือกรุงเทพฯปัจจุบัน)





   จังหวัดนี้มีความสำคัญตรงที่เป็นสถานที่ประสูติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้มีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงเป็นกวีเอกและทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่มด้วยกัน เช่น รามเกียรติ์ตอนลักสีดา วานรถวายพล พิเภกสวามิภักดิ์ สีดาลุยไฟ พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ฯลฯ พระองค์จึงทรงได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก


                                                       หลวงพ่อบ้านแหลม พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแม่กลอง 
       
       สำหรับ “อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” หรือ “อุทยาน ร.2” นั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่พระองค์ผู้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้เพื่อเป็นมรดกแก่ชาติไทย บริเวณที่ตั้งอุทยาน ร.2 นี้ เชื่อว่าเป็นนิวาสถานดั้งเดิมของพระองค์ ภายในอุทยานมีโรงละครกลางแจ้ง และมีอาคารทรงไทยที่จัดเป็นพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด 
   เมืองแม่กลองยังเป็นถิ่นกำเนิดของศิลปินอีกหลายท่าน โดยเฉพาะนักดนตรีที่ล้วนแล้วแต่สร้างผลงานฝากไว้ในแผ่นดินมากมาย อาทิ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ หรือ ศร ศิลปบรรเลง ที่คนไทยได้รู้จักเรื่องราวของท่านผ่านภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง” ครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ก่อตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์อันคลาสสิค และ ทูล ทองใจ นักร้องเสียงทองเจ้าของเพลง “โปรดเถิดดวงใจ” ที่ยังคงความไพเราะไม่เสื่อมคลาย โดยทั้งสามท่านเป็นคนอัมพวาเหมือนกัน 
    สำหรับใครที่เดินทางมายังเมืองแม่กลอง ไม่ควรพลาดที่จะมาสักการะพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ “หลวงพ่อบ้านแหลม” ประดิษฐานอยู่ภายในวัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย-อยุธยาตอนต้น หลวงพ่อบ้านแหลมนี้เป็นหนึ่งในพระพุทธรูป 3 พี่น้อง คือหลวงพ่อบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา แต่บางความเชื่อก็เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูป 5 พี่น้องคือรวมเอาหลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อโตวัดบางพลีเข้าไปด้วย


                                                      โบสถ์ปรกโพธิ์ วัดบางกุ้ง 
       
       นอกจากวัดบ้านแหลมแล้ว สมุทรสงครามยังมีวัดเก่าแก่งดงามอีกหลายวัดด้วยกัน เช่น “วัดบางกุ้ง” ซึ่งมี “โบสถ์ปรกโพธิ์” โบสถ์ที่ถูกปกคลุมด้วยรากไม้จนดูร่มครึ้ม ผสมกับความขรึมขลังออกมาเป็นความงามที่ลงตัว จนได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ 
      ส่วนที่ “วัดบางกะพ้อม” ก็มีความน่าสนใจตรงที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นในสมัย ร.3 “วัดภุมรินทร์กุฎีทอง” มีกุฏิไม้ริมน้ำสร้างด้วยไม้สักทอง ภายในเขียนลายรดน้ำไว้อย่างงดงาม และมีพิพิธภัณฑ์เก็บข้าวของโบราณล้ำค่าต่างๆ “วัดอัมพวันเจติยาราม” ซึ่งตั้งอยู่ติดกับอุทยาน ร.2 ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความน่าสนใจตรงที่ภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้น เพื่อแสดงเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ ร. 2 และเรื่องราวในวรรณคดีที่ท่านทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระเทพฯก็ได้ทรงลงมือวาดด้วยพระองค์เองด้วย
    ไม่เพียงวัดไทยเท่านั้น ที่นี่ยังมีโบสถ์คริสต์นิกายคาทอลิก “อาสนวิหารแม่พระบังเกิด” หรือ “โบสถ์บางนกแขวก” ที่สร้างขึ้นในสมัย ร. 5 งดงามด้วยสถาปัตยกรรมกอธิค มียอดแหลมพุ่งเสียดแทงขึ้นไปบนท้องฟ้า ภายในประดับด้วยภาพเขียนบนกระจกสีจากฝรั่งเศส วาดเป็นเรื่องราวของพระเยซูและประวัติพระแม่มารีอา 


                                          รอยพระพุทธบาทที่วัดบางกะพ้อม 


    มาถึงเมืองแม่กลองทั้งที หากไม่ได้ไปเที่ยวตลาดน้ำก็คงจะถือว่าพลาดอย่างแรง อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าที่จังหวัดนี้เต็มไปด้วยคลองซอยแยกหลายร้อยสาย และคลองเล็กคลองน้อยอีกนับพัน คนแม่กลองในอดีตจึงนิยมเดินทางสัญจรโดยทางเรือ ส่งผลให้เกิดตลาดและแหล่งชุมชนต่างๆ อยู่ริมน้ำ สำหรับตลาดน้ำที่โด่งดังที่สุดของสมุทรสงครามคงต้องยกให้“ตลาดน้ำอัมพวา” ที่นอกจากจะมีเรือพายของชาวบ้านที่นำเอาสารพัดอาหารของกินใส่เรือลอยลำมาขายแล้ว ก็ยังมีตลาดบกหรือห้องแถวไม้ริมน้ำที่ตั้งเรียงรายขายอาหารและของที่ระลึกเก๋ๆ แนวๆ ถูกใจวัยรุ่น นอกจากนั้นที่นี่ยังมีบริการเรือไปชมหิ่งห้อย ซึ่งเป็นกิจกรรมยอดฮิตของนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน 
      ส่วนที่ “ตลาดน้ำบางน้อย” ก็เป็นตลาดน้ำเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในอำเภอบางคนที ที่นี่เดิมจะมีเรือพายมาขายของกันหนาแน่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียงร้านค้าในห้องแถวไม้ริมน้ำที่เปิดเป็นร้านรวงต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศเก่าๆ ที่เงียบสงบ บางมุมของตลาดเปิดเป็นร้านกาแฟน่ารักๆ ให้ได้นั่งพักชมบรรยากาศริมน้ำ ขอแนะนำผู้ที่ไม่ชอบความพลุกพล่านของตลาดน้ำอัมพวาให้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของที่นี่ 


                                                    อาสนวิหารแม่พระบังเกิด หรือ โบสถ์บางนกแขวก


    แต่หากใครชอบตลาดน้ำแบบวิถีชาวบ้านจริงๆ ต้องมาที่ “ตลาดน้ำท่าคา” ที่ยังคงกำหนดวันติดตลาดโดยยึดเอาข้างขึ้นข้างแรมเป็นหลัก คือวันข้างขึ้น-แรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ รวม 6 วันด้วยกัน และเพื่อเหตุผลทางการท่องเที่ยว ทางตลาดน้ำท่าคาจึงเปิดให้มีตลาดในวันเสาร์-อาทิตย์เพิ่มเติมขึ้น ในวันดังกล่าวชาวบ้านจะนำเอาสินค้าจากสวนของตัวเองใส่เรือพายมาที่ตลาดแต่เช้า เพื่อมาขายและซื้อของที่ต้องการกลับไปที่บ้าน ในคลองท่าคาจึงเต็มไปด้วยเรือพายของคุณลุงคุณป้าชาวสวนได้บรรยากาศแบบดั้งเดิมไม่ต้องปรุงแต่ง หากใครอยากสัมผัสต้องมาแต่เช้าสักหน่อย เพราะเที่ยงๆ ตลาดก็เริ่มจะวายแล้ว ส่วนการชมหิ่งห้อยที่ตลาดท่าคาก็มีเช่นกัน แถมยังเป็นการนั่งเรือพายที่ได้บรรยากาศของการดูหิ่งห้อยที่สงบและสวยงามจริงๆ และยิ่งหากได้มาพักที่โฮมสเตย์ที่มีอยู่มากมายหลายแห่งให้เลือกได้ตามความพอใจและตามงบประมาณแล้ว ก็จะทำให้การมาเยือนเมืองสมุทรสงครามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 


                                       ตลาดน้ำอัมพวา แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของสมุทรสงคราม


   ส่วนตลาดอีกแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงไม่น้อย แม้จะไม่ใช่ตลาดน้ำก็ตาม นั่นก็คือตลาดแม่กลอง “ตลาดร่มหุบ” ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองริมทางรถไฟใกล้กับสถานีรถไฟแม่กลอง พ่อค้าแม่ค้าจะตั้งแผงสองข้างทางรถไฟ กางร่มกันซ้อนกันจนบังทางรถไฟไว้หมด ดังนั้นเมื่อรถไฟจากสถานีมหาชัยวิ่งมายังสถานีแม่กลอง เราจึงได้เห็นภาพโกลาหลที่พ่อค้าแม่ค้าพากันเก็บตะกร้ากระจาดรวมทั้งหุบร่มที่กางไว้บนทางรถไฟ และเมื่อรถไฟผ่านไปแล้วข้าวของเหล่านั้นก็จะถูกจัดให้เข้าสู่สภาพเดิมของตลาด ถือเป็นความสามารถพิเศษของพ่อค้าแม่ค้า และเป็นเสน่ห์ของตลาดแห่งนี้ด้วย


                         ห้องแถวเรือนไม้ของตลาดบางน้อย


มาเที่ยวอย่างเดียวก็ยังไม่จุใจ ต้องได้ชิมของดีของอร่อยด้วยจึงจะสมบูรณ์ สำหรับของกินขึ้นชื่อของสมุทรสงคราม ต้องไปที่ “ดอนหอยหลอด” ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของที่นี่ โดยเป็นสถานที่ตากอากาศที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชม พร้อมกับมากินอาหารทะเลอร่อยๆ โดยมีเมนูขึ้นชื่ออย่าง “หอยหลอดผัดฉ่า” เป็นอาหารจานเด็ดที่แทบทุกคนต้องสั่ง หรือใครไม่อยากกินเพียงอย่างเดียว แต่อยากลงไปลองจับหอยหลอดในทะเลก็สามารถทำได้ เพียงติดต่อกับเรือที่รอรับนักท่องเที่ยวในบริเวณนั้น


                         มุมร้านกาแฟเก๋ๆ ที่ตลาดน้ำบางน้อย


 “ปลาทูแม่กลอง” ก็เป็นอีกหนึ่งของดี มีเอกลักษณ์ตรงที่ “หน้างอ คอหัก” จังหวัดสมุทรสงครามบริเวณอ่าวไทยมีชัยภูมิที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยและหากินของปลาทู เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุและอาหารของปลาทู และทำให้ปลาทูเมืองนี้จึงมีรสอร่อยกว่าที่อื่น เพราะมีเนื้อแน่น มัน จนคนกินต่างยกให้ปลาทูแม่กลองเป็นราชาแห่งปลาทู ที่สามารถนำไปทำอาหารได้สารพัดอย่าง


                          ตลาดน้ำท่าคา มีเอกลักษณ์ตรงการติดตลาดตามเวลาข้างขึ้นข้างแรม 
       
       พืชพันธุ์ที่เมืองสมุทรสงครามนั้นก็ปลูกได้งาม เพราะมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่เห็นกันทั่วไปในจังหวัดก็คือ “มะพร้าว” ที่ปลูกกันตามท้องร่องในสวน ทำให้ชาวสวนมีรายได้ทั้งจากการขายผลมะพร้าว และนำมาแปรรูปเป็นน้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ ส่งขายเป็นสินค้าสำคัญในแถบนี้ 


                                       หอยหลอด ที่นำไปทำเป็นเมนูจานเด็ดอย่างหอยหลอดผัดฉ่า


นอกจากมะพร้าวแล้ว สมุทรสงครามยังมีผลไม้ขึ้นชื่ออย่าง “ลิ้นจี่” พันธุ์ “อีค่อม” ซึ่งมีผู้นำมาปลูกที่อัมพวาตั้งแต่ปี 2397 ด้วยลักษณะต้นที่ไม่ใหญ่นัก แต่ให้ผลดกเต็มต้น ผู้ปลูกจึงให้ชื่อลิ้นจี่พันธุ์นี้ว่าอีค่อม ซึ่งให้ผลที่มีเนื้อเยอะกรอบ รสหวานหอม เปลือกบาง เม็ดเล็ก เวลาแกะเปลือกออกมาเนื้อจะแห้ง ไม่มีน้ำ ส่วนผิวจะมีสีแดงสดสม่ำเสมอทั่วทั้งลูก


                          บรรยากาศท้องร่องสวนที่เต็มไปด้วยต้นมะพร้าว  
       
       ทุกวันนี้ลิ้นจี่อีค่อมต้นแรกที่มีอายุถึง 157 ปี แล้วนั้น ยังคงมีชีวิตอยู่ในสวนที่ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา โดยชาวบ้านในละแวะนั้นให้เกียรติยกเป็น “คุณทวดค่อม” ส่วนใครอยากชิมลิ้นจี่อีค่อมของแท้ ทางจังหวัดสมุทรสงครามก็ได้จัดงานเทศกาลลิ้นจี่ขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายน รอไปชิมกันได้...



ที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th